นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก สามารถสร้างแขนกลที่สามารถใช้กับผู้พิการได้สำเร็จ


     โดยผลงานการค้นคว้าวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกันของ มหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก สาขาแพทยทศาสตร์ และ UPMC ซึ่งจากการค้นคว้าวิจัยนี้ได้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี โดยที่อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัยนี้ คือ Ms. Jan Scheuermann วัย 53 ปี เป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้มือและเท้าในการช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิตประจำวัน 

     ในการทดลองครั้งนี้ทางผู้ค้นคว้าวิจัยได้ติดแขนกลที่มีเซนเซอร์รับคลื่นสมองที่ส่งผ่านมาจากตัวชิปที่ได้ทำการฝังไว้ในสมองของผู้รับการทดลอง (ซึ่งระบบนี้จะเรียกว่า The Brain-Computer Interface หรือ BCI) โดยที่เซนเซอร์ของแขนกลจะรับคลื่นสมองมาแล้วทำการประมวลผลว่าคลื่นสมองที่ส่งออกมานั้นคือความต้องการอะไร (ซึ่งคลื่นสมองของคนแต่ละคนที่ส่งออกมาจะไม่เหมือนกัน เป็นไปได้ว่าระบบนี้อาจจะต้องทำการตั้งค่าตามคลื่นสมองของแต่ละคนไป) แล้วตัวแขนกลก็จะปฏิบัติตาม ซึ่งในการทดลองครั้งนี้  Ms. Scheuermann ได้ทำการสั่งให้แขนกลนั้นหยิบช็อคโกแลตเข้าปากแล้วรับประทานได้เป็นผลสำเร็จ

     หลังจากที่การทดลองนี้ประสบผมสำเร็จ ทาง Andrew B. Schwartz, Ph.D., อาจารย์สาขาชีววิทยา หนึ่งในผู้ร่วมค้นคว้าวิจัยได้ออกมากล่าวว่า "One small nibble for a woman, One Giant Bite for BCI" แปลได้ประมาณว่า "หนึ่งคำที่เล็ก ๆ ของผู้หญิงคนหนึ่ง แต่เป็นหนึ่งคำที่ยิ่งใหญ่ของ BCI" 

     ซึ่งเราหวังว่าการทดลองนี้ และการค้นคว้าที่จะเกิดขึ้นต่อ ๆ ไปจากนี้จะสามารถช่วยให้คนที่พิการและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ กลับมามีชีวิตที่ดีได้ในสังคม

Source : UPMC (***สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติม และดูคลิปวิดีโอได้)

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม